การให้ความช่วยเหลือในการติดต่อกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย

การให้ความช่วยเหลือในการติดต่อกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย

เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อประสานงานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย เรายินดีให้ความช่วยเหลือในการบริการโดยเป็นตัวแทนของท่านในการติดต่อประสานงานต่างๆกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อลดผลกระทบในด้านความสะดวก และลดระยะเวลาในการติดต่อของท่าน

แบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ดังนี้

แจ้งลงทะเบียนบุคคลต่างด้าว

การยื่นขออนุญาตทำงานของบุคคลต่างด้าว ทุกสัญชาติเพื่อของสิทธิตามกฎหมายในการอยู่อาศัย หรือ อาชีพ ภายใต้กฎหมายของราชอาณาจักรไทย

ขอใบอนุญาตทำงาน

ใบอนุญาตทำงาน หรือ work permit  หมายถึง  ชาวต่างชาติที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจ กิจการ หรือ ลูกจ้าง ทุกอาชีพนั้น จำเป็นต้องยื่นขอการเปลี่ยนประเภทการลงตราตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ว่าด้วย ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องยื่นขอการเปลี่ยนแปลงประเภทการลงตราเป็น Non-Immigrant Visa ”B” หรือวีซ่าประเภทธุรกิจ และเมื่อทำการเปลี่ยนลงตราเรียบร้อยแล้วนั้น จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน หรือ work permit มิฉะนั้นจะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้

การขอวีซ่าเกษียณอายุ

วีซ่าแบบชีวิตบั้นปลาย หรือวีซ่าเกษียณอายุ สำหรับชาวต่างด้าวที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และต้องการอาศัยอยู่ใน ประเทศไทย ท่านต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน คือเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากประจำไม่น้อย กว่า 800,000 บาท หรือมีเงินไม่น้อยกว่าเดือน 65,000 บาท โดยเงินได้ 12 เดือน รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา โดยสามารถยื่นเอกสารเพื่อขอวีซ่าแบบชีวิตบั้นปลายนี้ได้ที่สำนักงานตำรวจ ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งระยะเวลาการอนุญาตจะเป็นแบบ 1 ปี ผู้ที่มีวีซ่าแบบ Multiple Non-Immigrant Visa ไม่ต้องทำ Re-Entry เพราะเมื่อท่าน เดินทางออกนอกประเทศ ท่านจะได้รับการอนุญาตให้เข้ามาใหม่ เป็นเวลา 90 วัน

การขอวีซ่าดำเนินธุรกิจ

วีซ่าธุรกิจ หรือ Business Visa เป็นวีซ่าที่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดต่อธุรกิจ การประชุม หรือการเข้าไปติดต่อ ทำการค้า ในประเทศนั้น ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง วีซ่าธุรกิจนี้ ในบางประเทศจะมีการรวม การจ้างงานแบบชั่วคราว หรือแบบถาวรไว้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าธุรกิจของแต่ละประเทศนั้น จะมีรายละเอียด วัตถุประสงค์ เงื่อนไข และเอกสารแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับนโยบายที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะกำหนดขึ้นการขอวีซ่าธุรกิจนั้น ผู้ขอวีซ่าควรจะเตรียมหลักฐานทางด้านอาชีพ หรือวิชาชีพของตนเองให้พร้อม ประกอบกับเอกสารอ้างอิง ที่ระบุถึงกิจกรรม หรือ วัตถุประสงค์ ที่เราจะไปดำเนินการ ที่ประเทศเป้าหมาย ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ ก็ต้องเตรียมเอกสารที่แสดงว่า ประกอบธุรกิจอะไร ดำเนินธุรกิจมานานแค่ไหน มีความมั่นคงหรือไม่ 

ตลอดจนหลักฐานการเสียภาษี และหลักฐานวัตถุประสงค์ที่ต้องการเดินทางไปทำอะไรที่ประเทศเป้าหมาย หรือหากเป็นลูกจ้าง ที่มีบริษัทส่งไปดูงาน ประชุม สัมมนา หรือธุรกรรมอื่น ๆ ก็ต้องแนบหนังสือรับรองจากทางบริษัท ในบางประเทศ นั้น จำเป็นที่จะต้องแนบ หนังสือเชิญจาก บริษัท หรือธุรกิจ หรือผู้จัดงานของประเทศนั้น ๆ ประกอบด้วย นอกจากนี้ หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ หนังสือรับรองที่พัก ก็อาจมีความจำเป็น ในการขอวีซ่าธุรกิจด้วย ซึ่งเอกสารเหล่านี้ จะช่วยยืนยันให้กับสถานทูต ของประเทศนั้น ๆ ว่า ผู้ขอวีซ่าธุรกิจ มีความเหมาะสมที่จะ เดินทางเข้าประเทศ เพื่อทำกิจกรรมทางธุรกิจอย่างแท้จริง

การขอวีซ่าการแต่งงาน

วีซ่าแต่งงานในไทยได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องสำหรับ “1-Year Extension of Stay Based on Marriage”  โดยวีซ่าประเภทนี้จะออกให้แก่ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับบุคลสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของสำนักตรวจคนเข้าเมือง และผู้ถือวีซ่าแต่งงานในไทยมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในประเทศไทยเต็มปีโดยไม่จำเป็นต้องออกจากประเทศซึ่งวีซ่าสามารถเปลี่ยนใหม่ได้ทุกปีและสามารถต่อสัญญาได้ภายในประเทศ (ข้อกำหนดสำหรับการต่ออายุวีซ่ายังคงใช้)วีซ่าแต่งงานในประเทศไทย

อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่จะอยู่และทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องว่ามีใบอนุญาตในการทำงานและได้รับพร้อมกับการขอวีซ่า

การขอวีซ่าการศึกษา

ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาศึกษาในราชอาณาจักรไทย สามารถทำเรื่องขอวีซ่านักเรียนจากสถาบันสอนภาษาที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่จะที่เปิดสอนภาษาให้กับชาวต่างชาติจะได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการถึงหลักสูตรในการสอน หากชาวต่างชาติหากต้องการเรียนภาษาและพำนักอยู่ในประเทศไทยในเวลาเดียวกัน สามารถติดต่อสถาบันสอนภาษาที่เปิดสอนอยู่เพื่อติดต่อขอเป็นนักศึกษาและขอวีซ่านักเรียนในเวลาเดียวกันได้เลย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1.คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-ED) หรือ มีตราประทับ NON-IMMGRAT – ED ในพาสปอร์ตเรียบร้อยแล้ว

2.ต้องได้รับการรับรอง และ ร้องขอให้อยู่หรือศึกษาต่อ จากสถานศึกษานั้นๆ ( ทางสถานบันจะเป็นผู้ออกเอกสารให้กับนักศึกษา )

การรายงานตัวการพักอาศัยทุก 90 วัน

คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

สำหรับวิธีการดำเนินการ

1.คนต่างด้าวแจ้งด้วยตนเองหรือ

2.คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้งหรือ

3.คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

4.คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ

5.กรณีที่เกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยฯ คนต่างด้าวที่มารายงานตัว จะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท

6.กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย